แนวทางการประสานงานในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี

เพื่อให้การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเป็นไปอย่างถูกต้อง ชัดเจนตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งเบื้องต้นหน่วยงานจะต้องพิจารณาตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๔ ก่อน ดังนี้


v ประเภทเรื่อง 

          ต้องเป็นเรื่องที่จัดอยู่ในประเภทเรื่องที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีมี ๑๓ ประเภท ดังนี้ 

          ๑) เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีหรือให้ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี 

          ๒) ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชกำหนด 

          ๓) เรื่องที่ต้องเสนอให้สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ 

          ๔) ร่างพระราชกฤษฎีกา 

          ๕) ร่างกฎกระทรวงเกี่ยวกับนโยบายสำคัญที่คณะรัฐมนตรีกำหนด 

          ๖) ร่างระเบียบ ร่างข้อบังคับ หรือร่างประกาศที่มีผลบังคับแก่ส่วนราชการโดยทั่วไป 

          ๗) เรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือที่เกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทย 

          ๘) การริเริ่มโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีวงเงินตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่โครงการลงทุนที่กำหนดในแผนงานที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหรือเห็นชอบกับแผนงานนั้นแล้ว

          ๙) เรื่องที่ขอทบทวนหรือยกเว้นการปฏิบัติตามมติของคณะรัฐมนตรี ระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศตามข้อ ๖)

          ๑๐) ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีลักษณะที่เป็นระเบียบปฏิบัติราชการทั่วไปหรือจะมีผลเป็นแนวบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการ

          ๑๑) เรื่องที่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินนอกเหนือจากที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

          ๑๒) เรื่องที่นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลนำเสนอหรือมีคำสั่งให้เสนอคณะรัฐมนตรี

          ๑๓) เรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรี

v หนังสือส่งเรื่อง 

 

          กรณีทั่วไปให้สรุปเรื่องให้ชัดเจนและครบถ้วน อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังนี้

          ๑) เรื่องเดิม (ถ้ามี)

          ๒) เหตุผลความจำเป็นที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี

          ๓) ความเร่งด่วนของเรื่อง (ถ้ามี) โดยระบุวันสุดท้ายที่ต้องดำเนินการไว้ด้วย

          ๔) สาระสำคัญของเรื่องหรือข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

          ๕) ประเด็นปัญหาที่ต้องการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา

          ๖) ความเห็นชอบหรืออนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดไว้ให้เรื่องที่เสนอต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติก่อนเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี

          ๗) กรณีที่กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี หรือคำสั่ง กำหนดให้ต้องมีการวิเคราะห์หรือศึกษาในเรื่องนั้นก่อนดำเนินการ ให้เสนอรายงานการวิเคราะห์หรือการศึกษา พร้อมทั้งจัดทำผลสรุปเสนอมาด้วย

          ๘) ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการดำเนินการ และที่มาแห่งเงินค่าใช้จ่าย

          ๙) รายละเอียดที่ประสงค์จะให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ให้ความเห็นชอบ หรือมีมติ โดยระบุให้ชัดเจนและแยกเป็นข้อๆ ให้ครบถ้วน

           กรณีการเสนอร่างกฎหมาย นอกจากต้องมีสาระสำคัญตามที่กล่าวมาแล้ว หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วย

          ๑) จัดทำคำชี้แจงตามหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติท้ายระเบียบนี้

          ๒) จัดทำสรุปสาระสำคัญของหลักการในร่างพระราชบัญญัติ

          ๓) จัดทำตารางเปรียบเทียบในกรณีแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงพระราชบัญญัติที่มีอยู่แล้ว

v ผู้ลงนามในหนังสือนำส่งเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี

          ผู้มีอำนาจลงนามในหนังสือนำส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แยกตามประเภทของหน่วยงานหรือผู้เสนอเรื่องได้ ดังนี้

 

หน่วยงาน

ผู้ลงนาม

กระทรวง

รัฐมนตรีเจ้าสังกัด

คณะกรรมการที่มีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการเป็นประธาน

นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการ ในฐานะประธานคณะกรรมการแล้วแต่กรณี

องค์กรอิสระที่ไม่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร

หัวหน้าองค์กรอิสระ (เสนอไปยังนายกรัฐมนตรี)

หน่วยงานของรัฐที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

หัวหน้าหน่วยงาน

หน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร

หัวหน้าหน่วยงาน

 

v จำนวนเอกสาร

          ให้หน่วยงานของรัฐส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพร้อมเอกสารตามวิธีการ จำนวน และระยะเวลาที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้แจ้งให้หน่วยงานของรัฐทราบตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๕๐๑/ว ๒๔ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เรื่อง การส่งเรื่องไปเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี ดังนี้

 

ลำดับที่

ประเภทเรื่อง / ประเภทเอกสาร

ส่วนราชการ

จำนวนเอกสาร

(ชุด)

เรื่องทั่วไป (หนังสือนำส่งและเอกสารประกอบ)

ยกเว้น

-กฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับ

เรื่องที่เสนอที่เป็นปัจจุบัน (ถ้ามี)

เจ้าของเรื่อง

๑๐๐

 

เรื่องกฎหมาย (หนังสือนำส่งเอกสารประกอบ)

ยกเว้น

-ร่างพระราชบัญญัติที่กำหนดให้ต้องมี

แผนที่ แผนผัง หรือเอกสารแนบท้ายหรือ

ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการเวนคืน

อสังหาริมทรัพย์ แม้ไม่มีบทบัญญัติให้มี

แผนที่หรือแผนผังแนบท้าย ให้ส่วนราชการ

ส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอ

รัฐสภาพิจารณา

เจ้าของเรื่อง

๑๒๐

 

๒,๕๐๐

(ปัจจุบันใช้ ๒,๐๐๐ ชุด)

 

-ข้อมูลประกอบเรื่องที่เสนอรัฐสภาในลักษณะ

เป็นรูปเล่มหนาหรือเป็นเอกสารขนาดใหญ่

เช่น แผนที่ แผนผังซึ่งมิใช่เอกสารตามข้อ ๑

-เอกสารรายงานประจำปี รายงานผลการตรวจสอบ

งบการเงินและรายรับรายจ่ายของหน่วยงานที่

กฎหมายกำหนดให้เสนอต่อรัฐสภาเห็นชอบ

- หนังสือสัญญาที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เสนอ

รัฐสภาเห็นชอบ

เจ้าของเรื่อง

๒,๕๐๐

(ปัจจุบันใช้ ๒,๐๐๐ ชุด)

 

๒,๕๐๐

(ปัจจุบันใช้ ๒,๐๐๐ชุด)

 

๒,๕๐๐

(ปัจจุบันใช้ ๒,๐๐๐ ชุด)

เรื่องการแต่งตั้งทุกประเภท (หนังสือนำส่ง

แบบสรุปประวัติฯ และเอกสารประกอบ)

ยกเว้น

-ประวัติผู้ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัตินำความ

กราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

แต่งตั้ง (พร้อมรูปถ่าย) โดยมีต้นฉบับ ๑ ชุด

สำเนา ๔ ชุด

เจ้าของเรื่อง

๑๐๐

 

 

 

- แบบข้อมูลประกอบการแต่งตั้งประเภทต่างๆ

(สลค. ๐๔-สลค. ๑๑) โดยมีต้นฉบับ ๑ ชุด

สำเนา ๔ ชุด

-กฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

กับเรื่องที่เสนอที่เป็นปัจจุบัน

 เจ้าของเรื่อง

 

  

 

-เอกสารเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของ

กรรมการเดิม เช่น ใบลาออก ฯลฯ

-หนังสือจากหน่วยงานต้นสังกัดหรือองค์กรต่างๆ

ที่ให้ความเห็นชอบในการส่งผู้แทนของ

หน่วยงานหรือองค์กรมาเป็นกรรมการ

เช่น หนังสือกระทรวงการคลังที่ให้ความเห็นชอบ

ในการส่งผู้แทนกระทรวงการคลังมาเป็น

กรรมการรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ

 เจ้าของเรื่อง

 

 หมายเหตุ กรณีมีความจำเป็น เช่น ต้องใช้เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี หรือต้องส่งเอกสารให้รัฐสภา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะประสานขอเอกสารเพิ่มเติมเป็นกรณีๆ ไป

 v ระยะเวลาในการส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

      เรื่องที่ส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต้องถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายในกำหนด ๓ วันทำการ โดยนับตั้งแต่วันที่หน่วยงานเจ้าของเรื่องได้ออกเลขที่หนังสือนำส่ง หากพ้นระยะเวลาที่กำหนด สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีความจำเป็นที่จะต้องขอให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องแก้ไขเลขที่ส่งและวันที่ให้ตรงตามความเป็นจริงก่อนที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

v การส่งข้อมูลเพิ่มเติม

      กรณีที่หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องเห็นว่าเรื่องที่เสนอมาในเบื้องต้นยังไม่สมบูรณ์ มีความประสงค์จะส่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา สามารถดำเนินการได้ โดยข้อมูลดังกล่าว ต้องส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีโดยมีหนังสือนำส่งซึ่งผู้มีอำนาจตามข้อ ๓ เป็นผู้ลงนาม

v การถอนเรื่องคืน

             กรณีหน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องประสงค์จะขอถอนเรื่องที่นำเสนอคณะรัฐมนตรีคืน ให้กระทำได้โดยผู้มีอำนาจลงนามในหนังสือนำส่งเป็นผู้ลงนามในหนังสือขอถอน หรือขอถอนในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

v การตอบความเห็น

         ๑. กรณีหน่วยงานของรัฐจะเสนอหนังสือตอบความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใดๆ ให้ดำเนินการ ดังนี้

         ๒. กรณีหน่วยงานสังกัดกระทรวง ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้ลงนาม

         ๓. กรณีเป็นหน่วยงานของรัฐที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือหน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ในกำกับของฝ่ายบริหาร ให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้ลงนาม

         ทั้งนี้ หากไม่ตอบเป็นหนังสือ ให้หน่วยงานของรัฐเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอความเห็นในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก็ได้

v สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้กำหนดวันที่จะจัดส่งวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี  ไว้ ๓ ครั้ง ก่อนถึงวันอังคารซึ่งเป็นวันประชุมคณะรัฐมนตรีปกติ คือ

         ๑) วันพุธ ระเบียบวาระที่จัดส่งในวันนี้เรียกว่าระเบียบวาระปกติ เป็นการจัดทำข้อมูลเอกสารของเรื่องในวาระเพื่อทราบและวาระเพื่อพิจารณา จัดเรียงตามระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีในแต่ละเรื่องจะมีเอกสารครบทุกประเภท (ประกอบด้วยบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี หนังสือส่วนราชการเจ้าของเรื่องและเอกสารประกอบเรื่อง หนังสือความเห็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง)

         ๒) วันศุกร์ ระเบียบวาระที่จัดส่งในวันนี้เรียกว่าระเบียบวาระเพิ่มเติม ครั้งที่ ๑ เป็นการจัดทำข้อมูลเอกสารของเรื่องในวาระเพื่อทราบและวาระเพื่อพิจารณาที่เพิ่มเติมเข้ามาภายหลัง รวมกับข้อมูลในวาระปกติ ข้อมูลทุกเรื่องในแผ่นซีดีจะมีเอกสารครบทุกประเภท

          ๓) วันจันทร์ ระเบียบวาระที่จัดส่งในวันนี้เรียกว่าระเบียบวาระเพิ่มเติม ครั้งที่ ๒ เป็นการจัดทำข้อมูลเอกสารของเรื่องในวาระเพื่อทราบและวาระเพื่อพิจารณาที่เพิ่มเติมเข้ามาภายหลัง รวมกับข้อมูลในวาระปกติและวาระเพิ่มเติม ครั้งที่ ๑ ด้วย

v การประสานเชิญผู้ชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

          เมื่อเรื่องใดได้รับการบรรจุเข้าวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ถ้าเป็นเรื่องเพื่อพิจารณา สำนักงานรัฐมนตรีจะประสานไปยังส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพื่อส่งผู้แทนเข้าร่วมชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งผู้ที่จะเป็นผู้ชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจะต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือเทียบเท่า เว้นแต่กรณีจำเป็นอย่างยิ่งให้มอบหมายผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองหัวหน้าส่วนราชการหรือเทียบเท่า หรือกรณีรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้มอบหมายผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า รองผู้ว่าการ รองผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้จัดการหรือเทียบเท่า สำหรับจำนวนผู้ชี้แจงให้มีผู้ชี้แจงตามที่กล่าวข้างต้นและอาจมีผู้ชี้แจงในรายละเอียดอีกจำนวนไม่เกิน ๒ คน

 

          ในกรณีที่คุณสมบัติของผู้ชี้แจง และจำนวนผู้ชี้แจงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรี ประธานที่ประชุม รัฐมนตรีเจ้าของเรื่อง หรือเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาอนุญาตและกรณีที่มีการชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ถือปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติในการชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยอนุโลม 

 

 

Adidas soccer